![]() |
ชื่อหนังสือ :
|
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเชิงวิเคราะห์พิธีกรรมของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพิธีกรรมโดยทั่วไป๒) เพื่อศึกษา พิธีกรรมของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย ๓) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมของคณะสงฆ์อนัมนิกายใน ประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเน้นวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นหลัก โดยการศีกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก และเอกสารทุติยภูมิ คือ รายงานการวิจัยวิทยานิพนธ์และเอกสารประเภทประเภทตําราเรียนและ
วิชาการที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย โดยเน้นศึกษา ๕ พิธีกรรม ดังนี้ (๑) พิธีบูชาดาวนพเคราะห์ (๒) พิธีกินเจ (๓) พิธีทิ้งกระจาด (๔) พิธีกงเต็ก และ (๕) พิธีบรรพชา- อุปสมบท
ผลการคืกษาพบว่า
คณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทยมีพิธีกรรมที่เป็นจุดเด่นในการเผยแผ่ โดยการใช้
พิธีกรรมเป็นการสอนหรือเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน สอนให้ประชาชนรู้จักความกตัญญู
ต่อบรรพบุรุษด้วยการทําบุญอุทิศ
ในทางพระพุทธศาสนาความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี บุคคลจะดีได้ต้องรู้จักกตัญญู พิธีกรรม หรือศาสนพิธีในทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแบบอนัมนิกาย ในประเทศไทยสามารถแยกออกเป็น ๒ พิธีหลัก ๆ คือ พิธีมงคล และพิธีอวมงคล โดยสรุปได้ดังนี้
๑. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพิธีกรรมโดยทั่วไป พบว่า พิธีกรรมเป็นพื้นฐานเบื้องต้น ที่ก้าวไปสู่การปฏิบัติดี ในทางพระพุทธศาสนาพิธีกรรมมุ่งเน้นให้เกิด ทาน ศีล และภาวนา โดยความเชื่อ หรือความศรัทธาในพิธีกรรม ย่อมทําให้ละชั่ว กลัวบาป แล้วนําหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา มาประพฤติปฏิบัติย่อมทําให้เกิดปัญญา พิธีกรรมจึงเป็นจุดสร้างความดีที่จะน้อมใจเข้าหาธรรมเบื้องสูง
๒. พิธีกรรมของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย พบว่า มี ๒ รูปแบบ คือ ๑) เป็นพิธีกรรม ที่มาจากพุทธบัญญัติโดยตรง เพื่อให้สาวกปฏิบัติตาม และ ๒) พิธีกรรมที่ผสมผสานกับวัฒนธรรม ของท้องถิ่นนั้นๆ จนเกิดเป็นพิธีกรรมใหม่
๓. วิเคราะห์พิธีกรรมของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย พบว่า ความเชื่อเรื่องเทพเจ้า ในลัทธิเต๋า ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษในความเชื่อของชาวจีนและญวน เมื่อผสมผสานกับลัทธิ
ความเชื่อของเต๋าและขงจื้อ จึงทําให้เกิดเป็นการทําบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ หรือที่เรียกว่า “พิธีกงเต็ก” พิธีกรรมเป็นกุศโลบายในด้านความคิดที่จะสอนให้คนหันมาทําความดี เกิดขึ้นก่อน
พุทธกาล โดยเกิดจากศาสนาพราหมณ์ที่บูชายัญด้วยชีวิตสัตว์ เพื่อขอพรต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ของศาสนาพราหมณ์ พิธีกรรมของพระสงฆ์อนัมนิกายที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นพิธีกรรม ที่สืบทอดมาจากพระพุทธศาสนาโดยตรง และเป็นพิธีที่สืบทอดมาพร้อมกับความผสมผสานกับ ลัทธิต่างๆ เช่น ลัทธิเต๋า และขงจื้อ เป็นต้น